เริ่มต้นกาแฟที่ถูกบดทั้งๆที่เมล็ดเป็นสีเขียว (ไม่ได้ผ่านการคั่ว) เพื่อที่จะให้ผลแทนที่เครื่องดื่มประเภทชา แต่หลังจากปลายศตวรรษที่ 13 โดยชาวอาหรับเริ่มมีการคั่วและตากเมล็ดกาแฟเพื่อจะเอาเมล็ดจากแฟออกมาก่อนการต้ม โดยกาแฟมักจะถูกต้มโดยผู้ชายเพื่อที่จะให้ผู้หญิงดื่มเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากประจำเดือน ช่วงนั้นการเพาะปลูกกาแฟคือหายากมาก
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 ก็ได้มีการคิดค้นวิธีปรุงแต่งในรูปแบบต่างๆเพื่อการดื่มกาแฟที่ทันสมัยขึ้น มีการคั่วและการบดก่อนชงด้วยน้ำร้อน เพิ่มขึ้นในการยอมรับ คนตุรกีอ้างว่ากาแฟจะเป็นยาหรือสารกระตุ้นความต้องการทางเพศ
ยังมีตำนานของชาวอาหรับเกี่ยวกับการพยายามป้องกันการแพร่กระจายของกาแฟ พวกเขาไม่ยอมให้เมล็ดพันธุ์กาแฟออกนอกประเทศของพวกเขา มีกฎหมายห้ามไม่ให้ขนส่งของพืชออกนอกประเทศอาหรับโดยรัฐบาล และยังมีความเชื่อว่ากาแฟเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะต้องปกป้องราวกับว่าเป็นความลับสูงสุดทางทหาร ทำให้กาแฟไม่ได้แพร่ออกนอกประเทศอาหรับเป็นระยะเวลานานหลายปี
ก่อนอื่นต้องขอบคุณพ่อค้าชาวอาหรับคนหนึ่่งค่ะ อิอิ เพราะอะไรน่ะเหรอคะ??
ในปีค.ศ.1650 มีพ่อค้าชาวอาหรับคนหนึ่งค่ะ แอบเอาเมล็ดพันธุ์ของต้นกาแฟกลับไปปลูกไว้ที่บ้านเกิดของเขาบนภูเขามัยซอร์ที่ประเทศอินเดีย และเริ่มต้มเมล็ดกาแฟเป็นเครื่องดื่ม โดยให้ชื่อว่า "คาห์วา (Qahwa)" ซึ่งความหมายของมันก็คือ "ทำให้นอนไม่หลับ" แหม!! แปลซะตรงเชียว
จากนั้นกาแฟก็แพร่กระจายจากอาราเบียไปทั่วประเทศอินเดีย และต่อมาก็กระจายไปยังยุโรปโดยพ่อค้าชาวอิตาเลียน
ในประเทศอิตาลีนั้น โป๊บ เคลเมนท์ ที่แปด (Pope Clement VIII)ได้รับคำยุยงจากที่ปรึกษาว่ากาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มของปีศาจร้าย ควรจะสั่งให้ห้ามดื่มเสีย แต่โป๊บ เคลเมนท์ ที่แปด กลับตัดสินใจที่จะทำพิธีล้างบาปกาแฟ (baptize) เสียแทน ทำให้กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมสำหรับคริสเตียน
จากนั้นร้านกาแฟก็ถูกเปิดมากขึ้นเรื่อยในแถบยุโรป เริ่มจาิก อิตาลี อังกฤษ ฝรั่งเศษ อเมริกา จนถึงปัจจุบันนี้
"เรามีคลิปตำนานกาแฟสนุกๆมาฝากเพื่อนๆด้วยค่ะ "
เด็กร้านกาแฟ --> "ปล.เพื่อนคนไหนที่สนใจบทความดีๆจากเว็บเด็กร้านกาแฟ สามารถสมัครรับบทความที่อัพเดทผ่านอีเมลล์ ในช่อง"Follow by Email"ทางด้านบนขวามือค่ะ เพียงกรอกอีเมลล์แล้วกด Submit จากนั้นเข้าไปเช็คอีเมลล์ที่ทางเว็บเด็กร้านกาแฟส่งไปให้ แล้วคลิกยืนยัน เป็นอันเสร็จค่ะ
1 ความคิดเห็น:
กินกาแฟแล้วหลับเหมือนเดิมค่ะ
แสดงความคิดเห็น